วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลนอกประเทศ

กีฬาวอลเลย์บอลเริ่มขึ้นเมื่อปี ๒๔๓๘ โดยนายวิลเลียม จี มอร์แกน
(William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A.
(Young Men's Christian Association) เมืองฮอลโยค (Holyoke)
มลรัฐแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิด
เกมการเล่นขึ้น เนื่องจากในฤดูหนาวหิมะตกลงมา ู้คนทั่วไปไม่สามารถเล่นกีฬา
กลางแจ้งได้ เขาได้พยายาม คิดและดัดแปลง กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นกิจกรรม
นันทนาการผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดูกาล ขณะที่เขาดูการแข่งขัน
เทนนิส เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิส
มาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้น
ประมาณ ๖ ฟุต ๖ นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและ
แขนตีโต้ ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางใน ของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป
ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้
้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลใหญ่ หนักและแข็งเกินไปทำให้มือของผู้เล่น
ได้รับบาดเจ็บ ในที่สุดเขาจึงให้ บริษัท A.G. Spalding and Brother Company
ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง ๒๕-๒๗ นิ้ว มีน้ำหนัก ๙-๑๒ ปอนด์
หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงตั้งชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโตเนต" (Mintonette)

ปี พ.ศ ๒๔๓๙ มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์
(Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุม
หลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด
( Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนต (Mintonette)
เป็น "วอลเลย์บอล" (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอล
ให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น

ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชน
ชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเกมที่เล่นง่าย สามารถเล่นได้ตามชายทุ่ง
ชายหาด และตามค่ายพักแรมทั่วไป

ปี พ.ศ ๒๔๗๑ ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ ( Dr.George J.Fisher )
ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกา การเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขัน
กีฬาวอลเลย์บอล ในระดับชาติ ซึ่งบุคคลผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทอย่างมาก ในการเผยแพร่
กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

1 ความคิดเห็น: